วันพุธที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557

การเป็นอยู่ปฏิบัติธรรมที่วัดแพร่แสงเทียน (เมษายน2556) เล่าสู่ฟังโดย ครูกิ๊ม

การเป็นอยู่ปฏิบัติธรรมที่วัดแพร่แสงเทียน (เมษายน2556) เล่าสู่ฟังโดย ครูกิ๊ม




เมื่อช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา ( เมษายน 2556 )ได้มีโอกาสไปปฏิบัติธรรมที่ วัดแพร่แสงเทียน ที่ จ.แพร่ มา รู้สึกถูกใจจัง เป็นวัดในอุดมคติที่อยากให้เป็น ก็อยากบอกเล่าความเป็นอยู่มี่นั่นให้ฟังว่าเป็นยังไง เพื่อเป็นข้อมูลในการเดินทางไปปฏิบัติกันต่อไปนะคะ

การเดินทาง  ถ้าเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว ระยะทางจาก กทม ไปแพร่ก็ประมาณ หกร้อยกว่าโล ใช้เวลาขับไปเรื่อยๆก็ ประมาณ 8-10 ชั่วโมง โดยวิ่งสายเอเซีย ตรงไปเรื่อยๆ จากทางหลวงเบอร์ 1 อยุธยา  สิงห์บุรี ชัยนาท นครสวรรค์ แล้วก็เป็นทางหลวงเบอร์ 11 ไปเรื่อยๆ ผ่านพิษณุโลก เด่นชัย อุตรดิตถ์ มุ่งหน้าไปแพร่ จะมีทางแยก ซ้ายไปลำปาง ขวาไป แพร่ ไปสูงเม่น ก็เลี้ยวขวาไป ก็จะเป็น เส้นทางหลวง 101 แล้วมั้ง จากแพร่ก็ไปเรื่อยๆมุ่งหน้าไปน่าน เพราะวัดแพร่ฯจะเลยตัวเมืองแพร่ไปอีก คืออยู่ อ.ร้องกวาง ( ประมาณ 30 โล  จากแพร่ )  ซึ่งติดกับ จ. น่านค่ะ พอถึงหน้า  โรงเรียนร้องกวาง (จันทิมาดาราม) ก็เลี้ยว ซ้ายเข้าซอยข้างๆโรงเรียนนั่นเลย สังเกตจะมีตลาดสด (ขายตอนเย็น) อยู่ปากซอย ตรงเข้าไปประมาณ ไม่ไกลมาก  7-8 โลมั๊งค่ะ ก็สังเกตทางซ้ายมือจะมีป้ายวัดใหญ่โตเห็นชัด เลี้ยวเข้าประตูวัดได้เลย
          การเดินทางโดยรถทัวร์ เนื่องจากที่ตั้งของวัดตั้งอยู่ตรงทางแยกของถนน  ถ้าขับมาจากตัวเมืองแพร่ถึงสี่แยกร้องกวาง เลี้ยวซ้ายจะไปเชียงราย ตรงไปจะไปน่าน ดังนั้นเราจึงสามารถขึ้นรถทัวร์ได้ทั้งที่ไปสุดสายที่เชียงราย หรือสุดสายที่น่านก็ได้
        ถ้าเดินทางโดยรถโดยสารก็มีทั้งรถกลางวันและรถกลางคืน ถ้าขึ้นรถ กรุงเทพฯ – น่าน แล้วก็ลงหน้าโรงเรียนร้องกวางนั่นแหละค่ะ หรือบอกรถทัวร์ว่าลงที่หน้าเซเว่นร้องกวาง  แล้วก็เรียกสามล้อแถวนั้นขับพาเข้าไป ที่วัดเรียกให้ใช้กันประจำก็คือ รถสองแถวเล็กของลุงนัด เบอร์โทร 085-625-4801 ค่าโดยสารคิดต่อเที่ยว(กี่คนก็ได้)  100 บาท  รถทัวร์มีหลายบริษัทที่ไปน่าน เช่น บขส  วิริยะทัวร์ บุษราคัมทัวร์ สมบัติทัวร์ ฯลฯ ขากลับก็บอกกับทางวัดว่าจะกลับวันไหนอย่างไร ทางวัดก็จะช่วยจองตั๋วรถทัวร์ให้ได้
        หรือถ้าเดินทางโดยรถสาย กรุงเทพฯ – เชียงราย ก็ลงที่หน้าโรงเรียนแม่ยางเปรี้ยว แล้วก็เรียกรถสองแถวเล็กของลุงนัทเจ้าเดิมขับพาไปวัด ค่ารถ 100 บาทต่อเที่ยวเช่นเดียวกัน
        หรือทั้ง 2 สายรถประจำทางเมื่อถึงจุดลงแล้ว ถ้าตกหล่นยังไงก็โทรเรียกทางวัดมารับก็ได้ค่ะ เป็นเบอร์ของคุณป้าพิกุล นะค่ะ เบอร์โทร 087-180-2976  (รายละเอียดของวัดทุกอย่างติดต่อได้ที่เบอร์นี้เลยค่ะ)

ความเป็นอยู่ในแต่ละวัน 
เช้า ตี 3 ระฆังปลุกตื่น ทำธุระส่วนตัวเสร็จแล้วให้รีบมาที่ศาลาเพื่อมานั่งสร้างจังหวะร่วมกันไปจนถึงตี 4 ก็เริ่มทำวัตรเช้า   การสวดมนต์ ใช้การสวดมนต์แปล แล้วก็มีการสวดพระสูตรที่สำคัญๆที่ควรรู้ด้วย เสร็จแล้วพระอาจารย์ก็จะพูดถึงเรื่องความรู้สึกตัว ปัญหาการปฏิบัติ ความสำคัญต่อการปฏิบัติ ฯลฯ (หลังทำวัตรสวดมนต์เช้า เย็น) เสร็จแล้วก็สร้างจังหวะร่วมกันไปตลอดในศาลา
จนถึงประมาณ 6 โมงเช้า  ก็ออกจากศาลามารับประทานอาหารว่างมื้อเบาๆก็จะเป็นพวกขนมที่ทานแล้วอิ่มบ้างเช่น ขนมปัง ฟักทองต้ม ข้าวโพดคลุก ขนมต้ม ขนมเทียน ข้าวต้มมัด ฯลฯ และเครื่องดื่มร้อน เช่น น้ำข้าวโพด น้ำเผือก น้ำฟักทอง โอวัลติล ฯลฯ  เสร็จแล้วเก็บล้างและทำความสะอาดบริเวณวัดร่วมกัน
เมื่อทำความสะอาดเสร็จแล้ว(ประมาณ 8.00 ) ก็ให้รีบไปเข้าที่ปฎิบัติทันทีโดยจะแยกชาย หญิง หญิงก็จะอยู่ฝั่งทางด้านครัวดูแลการปฎิบัติโดยคณป้าพิกุลซึ่งจะส่งครูพี่เลี้ยงมาช่วยดูแลการปฎิบัติด้วย ส่วนผู้ชายก็จะไปปฎิบัติร่วมกันที่ฝั่งพระด้านหลังศาลาหรือในศาลาดูแลการปฎิบัติโดยพระอาจารย์
พอสักประมาณ 10 โมงเช้าก็เป็นเวลาอาหารมื้อหลัก ซึ่งเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากๆเพราะปลอดสารพิษใช้ผักที่ปลูกเองในแปลงข้างๆครัวนั่นเอง อาหารเหมือนภาคกลางของเราๆ รสชาดอาหารก็กลางๆไม่เผ็ดมากเกินไป มีทั้งข้าวขาว ข้าวกล้อง ข้าวเหนียว นมกล่อง นมเปรี้ยว ผักสด ผลไม้ ฯลฯ  อาหารดีมากๆค่ะถึงแม้จะทานมื้อเดียวแต่มีคุณค่ามากๆ มาที่นี่คุณป้าพิกุลบอกว่าไม่มีใครบ่นหิว มีแต่บ่นว่าทานมากเกินไป อิ่มจุกกันไปตามๆกันค่ะ  การทานอาหาร ก็โดยตักมาทานร่วมกันที่ศาลา ทานอาหารเสร็จ ก็ช่วยกันล้างจานชามส่วนกลางกัน ทานข้าวเสร็จแล้วก็เข้าที่ปฏิบัติ




จนถึงเวลา 17.00 น ออกมารับน้ำปานะ(บางทีเป็นปานะข้น-น้ำข้าวโพด ฯลฯ บางทีเป็นเป็นปานะใส-น้ำกระเจี๊ยบ ฯลฯ) แล้วอาบน้ำซึ่งอาบได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้นคือตอนเย็นนี้เอง เนื่องจากวัดขาดแคลนน้ำต้องซื้อน้ำมาใช้จึงห้ามซักผ้าด้วย ซักได้แต่ชุดชั้นในเท่านั้น นอกนั้นให้ไปจ้างชาวบ้านซัก ที่จะมีชาวบ้านมาเก็บไปซักส่งซักได้ตอนเช้าก่อน 7 โมงเช้า โดยวางรวมกันที่ห้องลงทะเบียนนั่นแหละค่ะ ใส่ถุงกอบแก๊บเขียนชื่อไว้ที่ถุง พอเย็นเค้าก็จะเอาส่งให้ตอน 5 โมงเย็นตอนที่เราออกมาทานปานะกัน ราคาชิ้นละ 5 บาท รวมไปถึงผ้าห่มที่วัดให้เราใช้ด้วยเมื่อจะกลับก็ส่งซักแล้วจ่ายเงินค่าซักเอาไว้ ราคาค่าผ้านวมผืนใหญ่ 30 บาท ผ้าห่มผืนเล็กหน่อยก็ 20 บาท  เรื่องนี้พระอาจารย์บอกว่าช่วยลดภาระเรื่องการจัดสรรน้ำของวัดไปได้มาก และช่วยในการปฎิบัติด้วยเพราะเราจะได้ไม่ต้องมีภาระการซักและตากผ้า เก็บผ้า
 พอ 6 โมงเย็นก็จะตีระฆัง ให้รีบมาเข้าศาลานั่งสร้างจังหวะร่วมกันไปจนถึง 1 ทุ่ม เริ่มทำวัตรเย็นที่ศาลา เสร็จแล้วก็ฟังพระอาจารย์บรรยายเรื่องการปฏิบัติ  แล้วสร้างจังหวะร่วมกันไปจนถึง 20.30 น จะเป็นอย่างนี้ทุกวัน




การเข้าปฏิบัติ
 จะต้องมาตามช่วงที่ทางวัดจัดอบรมเท่านั้น คือ ทุกวันที่ 1-11 ของทุกเดือน ยกเว้นวัดหยุดยาวๆทางวัดก็จะอนุญาตให้เป็นพิเศษถ้าตั้งใจมาปฏิบัติจริงๆ และต้องอยู่ปฏิบัติอย่างน้อยที่สุด 7 วัน  ในช่วงวันที่ 1-11 ถ้ามาไม่ได้ตลอดช่วงก็เลือกวันที่จะมาและกลับได้ในช่วงนั้นที่รวมวันปฎิบัติแล้วต้องได้ 7 วัน เช่น สามารถเริ่มเข้าอบรมวันที่ 3 ได้แล้วกลับวันที่ 10  เข้าวันที่ 4 แล้วกลับ 11 แต่จะดีกว่าถ้าเริ่มเข้าอบรมวันแรกๆ เพราะพระอาจารย์ท่านจะสอนวิธีปฎิบัติอย่างละเอียดในวันแรกๆ
ในกรณีที่มาพักผ่อนมาไม่ปฏิบัติมาฟังเทศน์ฟังธรรมเฉยๆ หรืออยู่ปฏิบัติไม่ครบ 7 วัน ถ้าอยากมาทางวัดก็มีที่พักเอกชนอยู่ในบริเวณเดียวกันชื่อ เฮือนพักศีล 5 คืนละ 300 บาทต่อห้อง แล้วแต่จะพักกันกี่คน




การแต่งกาย   

สตรีใส่เสื้อสีขาว นุ่งผ้าถุงขาว ผู้ชาย เสื้อขาว กางเกงขาว ถ้าไม่ได้เตรียมมาทางวัดมีจำหน่ายทุกอย่าง  ในระยะหลังนี้ทางวัดอนุญาตให้ผู้หญิงใส่ผ้าถุงสีเข้มได้ด้วย เช่นสีดำ น้ำตาล




กฎระเบียบของวัด 

ตามแนบนะค่ะ สรุปคือ พระจะไม่ขอรับถวาย เงิน ทอง เนื้อดิบ รูปผู้หญิง และผู้หญิงจะเข้าปรึกษาปัญหาหารปฏิบัติกับพระที่ศาลาจะต้องไปด้วยกันอย่างน้อย 2-3 คนไม่ให้พูดคุย 2 ต่อสอง ผู้ปฏิบัติห้ามพูดคุยกันเองโดยไม่จำเป็น ใครมีอะไรยังงัยให้ถามที่ทีมงานในครัว ไม่รับถังสังฆทานเพราะจะเป็นภาระต่อพระและคนที่อยู่ในการจัดเก็บ จะบริจาคเงินก็ให้ไว้ที่คุณป้าพิกุล ถ้าจะขอใบอนุโมทนาก็ขอรับที่คุณป้าได้เลย
เมื่อไปถึงวัดแล้วก็ลงทะเบียนเข้าอบรมกับทางวัด แล้วเอามือถือให้วัดเก็บไว้จนวันจะกลับจึงจะให้คืนค่ะ
สอบถามเพิ่มเติมทุกเรื่องได้ที่คุณป้าพิกุล  087-180-2976
วัตรปฏิบัติ
๐๓.๐๐ น. ระฆังปลุก
๐๔.๐๐ น. ทำวัตรเช้า
๐๖.๐๐ น. อาหารเช้า
๐๗.๐๐ น. กิจกรรมทำความสะอาด
๑๐.๐๐ น. อาหารมื้อหลัก
๑๗.๐๐ น. รับน้ำปานะ อาบน้ำ
๑๘.๐๐ น. ทำวัตรเย็น ฟังธรรม
๒๑.๐๐ น. พักผ่อน


วันอังคารที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ทางลัด

ทางลัดสู่การรู้แจ้งแห่งปรมัตถสัจจะ

การเจริญสติแบบเคลื่อนไหวตามแนวหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
การเจริญสติในชีวิตประจำวัน
การเจริญสตินี้ ต้องทำมากๆ ทำบ่อยๆ นั่งทำก็ได้ นอนทำก็ได้ ขึ้นรถลงเรือทำได้ทั้งนั้น เวลาเรานั่งรถเมล์ เรานั่งรถยนต์ก็ตาม เราเอามือวางไว้บนขา พลิกขึ้นคว่ำลงก็ได้หรือเราไม่อยากพลิกขึ้นคว่ำลง เราเพียงเอานิ้วมือสัมผัสนิ้วอย่างนี้ก็ได้ สัมผัสอย่างนี้ ให้มีความตื่นตัว ทำช้าๆ หรือจะกำมือ เหยียดมืออย่างนี้ก็ได้
คำว่า “ให้ทำอย่างนั้นตลอดเวลานั้น” (คือ) เราทำความรู้สึก ซักผ้าซักเสื้อ ถูบ้านกวาดบ้าน ล้างถ้วยล้างชาม เขียนหนังสือ หรือซื้อขายก็ได้ เพียงเรามีความรู้สึกเท่านั้น แต่ความรู้สึกอันนี้แหละ มันจะสะสมเอาไว้ทีละเล็กทีละน้อยเหมือนกับเราที่มีขันหรือมีโอ่งน้ำ หรือมีอะไรก็ตามที่มันดี ที่รองรับมันดี ฝนตกลงมาตกทีละนิด ทีละนิด เม็ดฝนเม็ดน้อยๆ ตกลงนานๆ แต่มันเก็บได้ดี น้ำก็เลยเต็มโอ่งเต็มขันขึ้นมา
อันนี้ก็เหมือนกันเราทำความรู้สึก ยกเท้าไปยกเท้ามา ยกมือไปยกมือมา เรานอนกำมือเหยียดมือ ทำอยู่อย่างนั้น หลับแล้วก็แล้วไป เมื่อนอนตื่นขึ้นมาเราก็ทำไป หลับแล้วก็หลับไป ท่านสอนอย่างนี้ เรียกว่า ทำบ่อยๆ อันนี้เรียกว่าเป็นการเจริญสติ
การเดินจงกรม
เดินจงกรม ก็หมายถึง เปลี่ยนอิริยาบถนั่นเอง ให้เข้าใจว่า เดินจงกรมเพื่ออะไร? (เพื่อ) เปลี่ยนอิริยาบถ คือนั่งนานมันเจ็บแข้งเจ็บขา บัดนี้ เดินหลาย (เดินมาก) มันก็เมื่อยหลังเมื่อยเอว นั่งด้านหนึ่ง เขาเรียกว่า เปลี่ยนอิริยาบถ เปลี่ยนให้เท่าๆ กัน นั่งบ้าง นอนบ้าง ยืนบ้าง เดินบ้าง อิริยาบถทั้ง ๔ ให้เท่าๆ กัน แบ่งเท่ากันหรือไม่แบ่งเท่ากันก็ได้ เพราะว่าเราไม่มีนาฬิกานี่ น้อยมากอะไร ก็พอดีพอควร เดินเหนื่อยแล้ว ก็ไปนั่งก็ได้ นั่งเหนื่อยแล้ว ลุกเดินก็ได้
เวลาเดินจงกรม ไม่ให้แกว่างแขนเอามือกอดหน้าอกไว้ หรือเอามือไขว้ไว้ข้างหลังก็ได้
เดินจงกรม ก็อย่าไปเดินไวเกินไป อย่าไปเดินช้าเกินไป เดินให้พอดี
เดินไปเดินมา ก้าวเท้าไปก้าวเท้ามาทำความรู้สึก แต่ไม่ได้พูดว่า “ซ้ายย่างหนอ ขวาย่างหนอ” ไม่ต้องพูด เพียงเอาความรู้สึกเท่านั้น
เดินไปก็ให้รู้.....นี่เป็นวิธีเดินจงกรม ไม่ใช่ว่าเดินจงกรม เดินทั้งวันไม่รู้สึกตัวเลย อันนั้นก็เต็มทีแล้ว เดินไปจนตาย มันเป็นอย่างนั้น ไม่ใช่เดินอย่างนั้น
เดินก้าวไป ก้าวมา “รู้” นี่(เรียก)ว่าเดินจงกรม
การสร้างจังหวะ
การเจริญสติ เจริญสมาธิ เจริญปัญญานั้น ต้องมี “วิธีการ” ที่จะนำตัวเรา ไปสู่ตัวสติ ตัวสมาธิ ตัวปัญญาได้ การทำทุกสิ่งทุกอย่างต้องมีวิธีการ จึงจะเข้าถึงจุดหมายปลายทางได้
ดังนั้นการมาที่นี่ต้องพยายาม ไม่ต้องนั่งนิ่งๆ สอนกันแนะนำกัน ให้มีวิธีทำ โดยเคลื่อนไหวอยู่เสมอ ทำเป็นจังหวะ
วิธีทำนั้น ก็ต้องนั่ง แต่ไม่ต้องหลับตา อันนี้มีวิธีทำ นั่งพับเพียบก็ได้ นั่งขัดสมาธิก็ได้ นั่งเก้าอี้ก็ได้ นอนก็ได้ ยืนก็ได้ ทำความรู้สึกตัว...
พลิกมือขวาตะแคงขึ้น...ทำช้าๆ...ให้รู้สึก ไม่ใช่(พูด) ว่า “พลิกมือขวา” อันนั้นมากเกินไป เพียงแต่ว่าให้รู้สึกเท่านั้นเอง พลิกมือขึ้น...ให้รู้สึก หยุดไว้ ยกมือขึ้น...ให้รู้สึก ให้มันหยุดก่อน ให้มันหยุด มันไหวไป...ให้รู้ขึ้นครึ่งตัวนี่...ให้มันรู้ แล้วก็เอามาที่สะดือ
อันนี้มีจังหวะซ้าย-ขวา เป็น ๖ จังหวะ เวลาเอามือออกมาก็ซ้าย-ขวา รวมกันเข้ามี ๘ จังหวะ อันนี้เป็นจังหวะ เป็นจังหวะ
การเจริญสตินั้น ท่านว่าให้ทำบ่อยๆ ทำบ่อยๆ ก็ทำความรู้สึกนี่เอง เมื่อพูดถึงความรู้สึกแล้ว ก็พูดวิธีปฏิบัติพร้อมๆ กันไป ทุกคนทำตามอาตมาก็ได้
เอามือเรามาวางไว้บนขาทั้งสองข้างนั้นเอง คว่ำมือไว้ ตามเท่าที่อาตมาได้ทำทำอย่างนี้
พลิกมือขวาตะแคงขึ้น ทำช้าๆ ให้มีความรู้สึกตัว อันความรู้สึกตัวนั้น ท่านเรียกว่า สติ
ยกมือขวาขึ้นครึ่งตัว แล้วก็รู้สึกว่ามันไหวขึ้นมา แล้วก็มันหยุดนิ่ง ก็รู้สึกตัว
บัดนี้ เลื่อนมือขวามาที่สะดือเรา เมื่อมือมาถึงสะดือเรา ก็มีความรู้สึกว่ามันหยุดแล้ว เราก็รู้
พลิกมือซ้ายตะแคงขึ้นที่ขาซ้าย ชันไว้ แล้วก็มีความรู้สึก
ยกมือซ้ายขึ้นครึ่งตัว ให้มีความรู้สึก หยุดไว้
บัดนี้ เลื่อนมือซ้ายเข้ามาทับมือขวาที่สะดือ แล้วก็รู้สึก อันนี้เรียกว่า การเจริญสติ อันความรู้สึกนั้น ท่านเรียกว่า ความตื่นตัว หรือว่า ความรู้สึกตัว เรียกว่า สติ
เลื่อนมือขวาขึ้นหน้าอก ทำช้าๆ มาถึงหน้าอกแล้ว เอาหยุดไว้
เลื่อนมือขวาออกมาตรงข้าง ไหวมาช้าๆ อย่างนี้ เมื่อมาถึงที่ตรงข้าง หยุด
แล้วก็ลดมือขวาลงที่ขาขวา ตะแคงไว้ ให้รู้สึกตัว
คว่ำมือขวาลงที่ขาขวา ให้มีความรู้สึกตัว
เลื่อนมือซ้ายขึ้นหน้าอก ให้มีความรู้สึกตัว
เอามือซ้ายออกมาที่ตรงข้าง ให้มีความรู้สึกตัว
ลดมือซ้ายลงที่ขาซ้าย ตะแคงเอาไว้ให้มีความรู้สึกตัว
คว่ำมือซ้ายลงที่ขาซ้าย ให้มีความรู้สึกตัว

(หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ : พลิกโลกเหนือความคิด , คู่มือการทำความรู้สึกตัว)


วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

Dynamnic Meditation




1. Sit cross-legged and upright; rest both hands on the thighs with your eyes open.
2. With awareness, turn your right hand onto its edge and stop.
3. With awareness, slowly raise your right hand up and stop.
4. With awareness, slowly lower your right hand to rest on your abdomen and stop.
5. With awareness, slowly turn your left hand onto its edge and stop.
6. With awareness, slowly raise your left hand up and stop.
7. With awareness, slowly lower your left hand to rest on your right hand and stop.
8. With awareness, slowly move your right hand up to rest on your chest and stop.
9. With awareness, slowly move your right hand out and stop.
10. With awareness, slowly lower your right hand to your thigh and stop.
11. With awareness, slowly turn your right hand down and stop.
12. With awareness, slowly move your left hand up to rest on the chest and stop.
13. With awareness, slowly move your left hand out and stop.
14. With awareness, slowly lower your left hand to your thigh and stop.
15. With awareness, slowly turn your left hand down and stop.




1. Sit cross-legged and upright; rest both hands on the thighs with your eyes open.
2. With awareness, turn your right hand onto its edge and stop.
3. With awareness, slowly raise your right hand up and stop.
4. With awareness, slowly lower your right hand to rest on your abdomen and stop.
5. With awareness, slowly turn your left hand onto its edge and stop.
6. With awareness, slowly raise your left hand up and stop.
7. With awareness, slowly lower your left hand to rest on your right hand and stop.
8. With awareness, slowly move your right hand up to rest on your chest and stop.
9. With awareness, slowly move your right hand out and stop.
10. With awareness, slowly lower your right hand to your thigh and stop.
11. With awareness, slowly turn your right hand down and stop.
12. With awareness, slowly move your left hand up to rest on the chest and stop.
13. With awareness, slowly move your left hand out and stop.
14. With awareness, slowly lower your left hand to your thigh and stop.
15. With awareness, slowly turn your left hand down and stop.